นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา โครงการคลินิกแก้หนี้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการขยายระยะเวลาจ่ายคืนและลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ภาระรายเดือนของลูกหนี้ลดลงมาอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้
นอกจากนี้จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 โครงการคลินิกแก้หนี้มีมาตรการเพิ่มเติมให้กับลูกหนี้ในโครงการฯ ที่ได้รับผลกระทบโดยผ่อนปรนการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง ซึ่งล่าสุด ภายใต้มาตรการช่วยเหลือ ระยะที่ 3 “ยาสูตรจ่ายเท่าที่ไหว” (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) กำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่ร้อยละ 40 ของค่างวดเดิมขึ้นไป จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยร้อยละ 1-2 ต่อปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา พบว่ารายได้ของลูกหนี้แต่ละอาชีพยังฟื้นตัวต่างกัน โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นช้ากว่ากลุ่มอื่น คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ (กคน.) จึงเห็นชอบให้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกหนี้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2565 จากเดิมที่กำหนดให้เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
ตั้งแต่เปิดโครงการคลินิกแก้หนี้ จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2565 มีลูกหนี้เข้าร่วมโครงการสะสมทั้งสิ้นจำนวน 26,701 ราย รวม 80,844 บัญชี ภาระหนี้เงินต้น 6,120 ล้านบาท โดยเฉลี่ยลูกหนี้ 1 ราย มีเจ้าหนี้ 2 ราย และมีค่าเฉลี่ยเงินต้นคงเหลือ 233,457 บาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่เข้าโครงการในช่วงปี 2563-2564 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวน 20,425 ราย 60,356 บัญชี สำหรับมาตรการช่วยเหลือ ระยะที่ 3 “ยาสูตรจ่ายเท่าที่ไหว” (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) พบว่า ในช่วงดังกล่าว มีลูกหนี้ในโครงการถึงร้อยละ 85 ที่ได้รับส่วนลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารโครงการ หรือติดต่อสมัครผ่านทางเว็บไซต์ (www.คลินิกแก้หนี้.com) LINE (@debtclinicbysam) และ Facebook (คลินิกแก้หนี้ by SAM) รวมทั้ง Call Center โทรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 1443 ได้ทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น.